ฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งเซลล์และความเป็นพิษของหญ้าปักกิ่งต่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว
สาคร พรประเสริฐ, วท.ม.,1 ขนิษฐา พันธุรี, วท.บ,2 อุษณีย์ วินิจเขตคำนวณ, Ph.D.2
1ภาควิชาจุลทรรศนศาสตร์คลินิก คณะเทคนิคการแพทย์, 2ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ
ปัจจุบันหญ้าปักกิ่งถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการรักษาโรคมะเร็งใน ประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบฤทธิ์ในการต้านมะเร็งเม็ดเลือดขาว โดยนำหญ้าปักกิ่งที่สกัดด้วยน้ำ หรือเอทธานอลร้อยละ 80 ที่ความเข้มข้นต่างๆ (50-400 มคก./มล.) มาทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งการแบ่งเซลล์และความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งเม็ด เลือดขาว 5 ชนิด [Promyelocytic leukemia (HL60), T-cell leukemia (Molt 4), B-cell leukemia (Daudi), Monocytic leukemia (U937) และ Erythroleukemia (K562)] พบว่า หญ้าปักกิ่งทั้งที่สกัดด้วยน้ำ และเอทธานอลร้อยละ 80 ในทุกความเข้มข้นไม่สามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนเซลล์ และไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวทุกชนิดที่นำมาทดสอบ เชียงใหม่เวชสาร 2544;40(4):195-203.
หญ้าปักกิ่ง [Murdannia loriformis (Hassk); Rolla Rao et Kammathy] เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่อยู่ในวงศ์ Commelinaceae มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนแถบสิบสองปันนา ได้มีการนำเข้าและปลูกทั่วไปในประเทศไทย สรรพคุณทางยาของหญ้าปักกิ่งพบว่าในประเทศจีนใช้รักษาอาการเกี่ยวกับโรคในระบบทางเดินหายใจ(1-2) ในประเทศไทยเมื่อประมาณ 20 ปีที่ผ่านมา พบว่าผู้ป่วยมะเร็งได้ใช้น้ำคั้นจากหญ้าปักกิ่งทั้งต้นมาดื่ม เพื่อรักษาและบรรเทาอาการของโรค บางรายใช้หญ้าปักกิ่งร่วมกับการรักษาแผนปัจจุบันเพื่อช่วยลดผลข้างเคียง มีรายงานผู้ป่วยมะเร็งที่ได้ใช้หญ้าปักกิ่งรักษาตนเองได้แก่ ผู้ป่วยมะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งมดลูก มะเร็งปากมดลูก มะเร็งโพรงจมูก มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม มะเร็งม้าม มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งกระดูก เนื้องอกในสมอง และมะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น(2) จากการศึกษาของ Jiratcha-riyakul พบสารที่สกัดจากหญ้าปักกิ่งชนิด glyco-sphingolipid มีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง เต้านมและมะเร็งลำไส้ ในหลอดทดลองได้(3)
มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) เป็นกลุ่มโรคที่มีการสร้างหรือเพิ่มจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดตัวอ่อน (blast cells) หรือเซลล์เม็ดเลือดขาวตัวแก่ (mature leukocyte) มากผิดปกติ ซึ่งเกิดได้ทั้งในไขกระดูกและในกระแสเลือด(4) ปัจจุบันพบว่ามีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคนี้เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่ในปัจจุบันเอื้ออำนวยให้ เกิดเป็นโรคได้ง่าย ถึงแม้จำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นแต่แนวทางในการรักษายังคงกระทำด้วยวิธีเดิม ซึ่งได้แก่ การใช้รังสีรักษา เคมีบำบัด และการเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก การรักษาด้วยวิธีดังกล่าวนอกจากผู้ป่วยต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากแล้ว บางครั้งอาจให้ผลได้ไม่เต็มที่ ดังเห็นได้จากสถิติการตายของผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวยังคงมากเช่น เดิม(5) ดังนั้นแนวคิดที่จะใช้สมุนไพรมาช่วยรักษาโรคมะเร็งชนิดนี้จึงเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามข้อมูลที่เกี่ยวกับฤทธิ์ของสมุนไพรแต่ละชนิดต่อการต้านเซลล์ มะเร็งเม็ดเลือดขาวยังมีอยู่น้อย การศึกษาครั้งนี้ทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดหญ้าปักกิ่งต่อการต้านเซลล์มะเร็ง เม็ดเลือดขาว โดยนำหญ้าปักกิ่งที่สกัดด้วยน้ำหรือเอทธานอล ที่ความเข้มข้นต่างๆ กัน มาทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งการแบ่งเซลล์ และความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ ผลการทดลองที่ได้อาจมีส่วนช่วยสนับสนุนหรือเป็นแนวทางส่งเสริม มีการพัฒนาวิธีการใช้สารสกัดหญ้าปักกิ่งเพื่อรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวใน ลำดับต่อไป
วัสดุและวิธีการ
การเตรียมสารสกัดหญ้าปักกิ่ง
นำหญ้าปักกิ่ง (Murdannia loriformis) ที่ปลูกในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ทั้งต้นมาล้างให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ปั่นจนละเอียด แล้วนำไปสกัดด้วยน้ำ หรือเอทธานอลร้อยละ 80 โดยใช้อัตราส่วนของหญ้าปักกิ่งจำนวน 100 ก. ต่อน้ำกลั่น 200 มล. หรือเอทธานอลร้อยละ 80 จำนวน 1,000 มล. กวนสารสกัดนาน 4 ชั่วโมงที่อุณหภูมิห้อง แยกส่วนกากออกแล้วกรองด้วยกระดาษกรอง Whatman เบอร์ 1 สำหรับสารที่สกัดด้วยน้ำก่อนกรองต้องนำไปปั่นที่ 5,000 xg นาน 15 นาที จากนั้นนำส่วนใสที่ได้จากการสกัดทั้งสองวิธีมาทำให้แห้งด้วยเครื่อง vacuum rotatory evaporator และ lyophilyzer ตามลำดับ ผงสกัดแห้งที่ได้จากการสกัดด้วยน้ำและเอทธานอลร้อยละ 80 จะนำมาละลายกลับในน้ำกลั่น หรือ DMSO ตามลำดับ(6) ปรับความเข้มข้นของสารสกัดเป็น 5 มคก./มล.แล้วนำมาทำให้ปราศจากเชื้อโดยกรองผ่าน millipore mem-brane filter ขนาด 0.2 มคม. พร้อมทั้งทดสอบการปราศจากเชื้อบนวุ้นเลี้ยงเชื้อชนิดผสมเลือด จากนั้นแบ่งสารสกัดใส่ขวดๆ ละ 1 มล. เก็บที่ -20 Oซ จนกว่าจะใช้งาน
Leukemic cell lines
Leukemic cell lines ที่ใช้ตลอดการทดลองมี 5 ชนิดคือ Promyelocytic leukemia (HL60), T-cell leukemia (Molt4), B-cell leukemia (Daudi), Monocytic leukemia (U937) และ Erythro-leukemia (K562) ซึ่งเมื่อจัดประเภทตาม French American British (FAB) Classification จะทำให้ได้ชนิดของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวครบทุกชนิด ยกเว้นชนิด Megaka-ryo-blastic leukemia ซึ่งพบผู้ป่วยได้น้อยมาก(4) เซลล์ทั้งหมดจะเลี้ยงใน completed RPMI-1640 (RPMR-1640 ที่มี10% FCS) พร้อมทั้งอบที่อุณหภูมิ 37 Oซ ในสภาวะที่มี CO2 ร้อยละ 5 ความชื้นมากกว่าร้อยละ 90 การเปลี่ยนอาหารเลี้ยงเซลล์ทำทุกสามวัน
ทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดหญ้าปักกิ่งต่อการยับยั้งการเพิ่มจำนวนเซลล์มะเร็ง
นำ leukemic cell lines ที่เลี้ยงไว้มาปั่นล้างหนึ่งครั้งด้วย RPMI-1640 ที่ความเร็ว 400 g นาน 10 นาที จากนั้นปรับจำนวนเซลล์เป็น 1.0 x 106 เซลล์/มล. ด้วย completed RPMI-1640 แล้วเติม 100 มคล. ของเซลล์ลงใน 96-well flat-bottom culture plate ที่มีสารสกัดหญ้า ปักกิ่งซึ่งได้จากการสกัดด้วยน้ำหรือเอทธานอลร้อยละ 80 โดยให้ความเข้มข้นของสารสกัดภายหลังการปรับปริมาตรสุดท้ายเป็น 200 มคล. ด้วย completed RPMI-1640 เป็น 0, 50, 100, 125, 150, 200, 300 และ 400 มคก./มล. การทดลองที่ความเข้มข้นของสารสกัดหนึ่งๆ จะทำสามหลุมซ้ำกัน นำเซลล์ไปเลี้ยงที่อุณหภูมิ 37 Oซ ในสภาวะที่มี CO2 ร้อยละ 5 ความชื้นมากกว่าร้อยละ 90 นาน 24 ชั่วโมง ก่อนการเก็บเซลล์ 1 ชั่วโมงจะเติม tritiated-thymidine 0.2 ไมโครคูรี/หลุม (5.0 Ci/mmol; Amersham pharmacia biotech) เมื่อครบเวลาทำการเก็บเซลล์ด้วยเครื่อง cell harvester TOMTEC จากนั้นปล่อย glass filter ให้แห้งที่อุณหภูมิห้องนาน 24 ชั่วโมง นำมาเติม liquid scintillation fluid จำนวน 5 มล. และวัดปริมาณสารรังสีด้วยเครื่อง b-counter (LBK, WALLAC) หน่วยที่วัดได้เป็น count per minute (cpm) นำค่า cpm ที่ได้มาคำนวณหาค่า การยับยั้งการแบ่งเซลล์ (% inhibition) โดยใช้สูตรที่แสดง
สูตรการคำนวณ % inhibition = cpm ในสภาวะที่ไม่มีสารสกัด – cpm ในสภาวะที่มีสารกสัด x 100
cmp ในสภาวะที่ไม่มีสารสกัด
ทดสอบความเป็นพิษของสารสกัดหญ้าปักกิ่งต่อเซลล์มะเร็ง
ทดสอบความเป็นพิษของสารสกัดหญ้า ปักกิ่งต่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว โดยเติมสารสกัดหญ้าปักกิ่งที่ความเข้มข้น 0, 50, 100, 125, 150, 200, 300 และ 400 มคก./มล. ลงในอาหารที่ใช้เลี้ยงเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว จากนั้นเพาะเลี้ยงเซลล์ตามเวลาและสภาวะที่กล่าวถึงในขั้นต้น เมื่อครบเวลาทำการตรวจนับจำนวนเซลล์ทั้งหมดด้วยน้ำยา white cell diluting fluid พร้อมทั้งนับจำนวนเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ด้วยวิธี trypan blue exclusion และศึกษาลักษณะการตายของเซลล์โดยย้อมสี propidium iodide และย้อมหา phosphatidylserine บนผิวเซลล์ด้านนอกด้วย annexin V จากนั้นจึงนำมาตรวจด้วยเครื่อง flow cytometer
การวิเคราะห์ทางสถิติ
การเปรียบเทียบข้อมูลทางสถิติระหว่างชุดทดลองกับชุดควบคุมจะใช้ student’s t -test โดยจะมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ค่า p<0.05
ผลการศึกษา
จากการทดลองหากกำหนดความสามารถในการยั้บยั้งการแบ่งเซลล์ของสารสกัดหญ้าปักกิ่งในระดับตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไปให้ถือว่าเป็นการยับยั้งที่แท้จริง พบว่าสารสกัดหญ้าปักกิ่งทั้งที่ได้จากการสกัดด้วยน้ำ และเอทธานอลร้อยละ 80 ที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 50 ถึง 400 มคก./มล. ไม่สามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Promyelocytic leukemia (HL60), T-cell leukemia (Molt4), B-cell leukemia (Daudi), Monocytic leukemia (U937) และ Erythroleukemia (K562) ได้ (รูปที่ 1 และ 2) โดยหญ้าปักกิ่งที่สกัดด้วยเอทธานอล ขนาดความเข้มข้น 400 มคก./มล. จะให้ค่าเปอร์-เซ็นต์ยับยั้งการแบ่งเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Promyelocytic leukemia (HL60) และ T-cell leukemia (Molt4) ที่มีค่าสูงสุดเท่ากับร้อยละ 23.10 และ 18.49 ตามลำดับ (รูปที่ 2) เนื่องจากหญ้าปักกิ่งที่สกัดด้วยเอทธานอลสามารถยับยั้งการแบ่งเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Promye-lo-cy-tic leukemia (HL60) ได้สูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดอื่นๆ ดังนั้นจึงนำสารสกัดและเซลล์ชนิดดังกล่าวมาทดสอบความเป็นพิษของสารสกัดที่มีต่อเซลล์ ปรากฏว่าที่ทุกความเข้มข้นไม่มีผลทำให้จำนวนเซลล์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกลุ่มเซลล์ในชุดควบคุม (p>0.05) นอกจากนี้จำนวนเซลล์ที่มีชีวิตอยู่ในแต่ละความเข้มข้นของสารสกัดยังมากกว่าร้อยละ 95 (ตารางที่ 1) เมื่อศึกษาลักษณะการตายของเซลล์โดยย้อมสี propidium iodide และย้อมหา phosphati-dylserine บนผิวเซลล์ด้านนอกด้วย annexin V พร้อมทั้งตรวจด้วยเครื่อง flow cytometer พบว่าในภาวะที่เซลล์ Promye-locytic leukemia (HL60) ไม่ถูกกระตุ้นด้วยหญ้าปักกิ่ง มีเซลล์ตายแบบ necrosis ร้อยละ 7.03 และในสภาวะที่ถูกกระตุ้นด้วยหญ้าปักกิ่งที่ความเข้มข้น 400 มคก./มล. จำนวนเซลล์ที่เกิดการตายแบบ necrosis เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 23.83 ในสารสกัด lot number ที่ 1 และร้อยละ 39.95 ในสารสกัด lot number ที่ 2 (ดังแสดงในรูปที่ 3ก, 3ข และ 3ค ตามลำดับ)
รูปที่ 1. แสดงฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวของหญ้าปักกิ่งที่สกัดด้วยน้ำ
รูปที่ 2. แสดงฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวของหญ้าปักกิ่งที่สกัดด้วยเอทธานอล
ตารางที่ 1.แสดงฤทธิ์ของหญ้าปักกิ่งที่สกัดด้วยเอทธานอลต่อการยับยั้งการแบ่งเซลล์และความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Promyelocytic leukemia (HL60)
รูปที่ 3. แสดงจำนวนและลักษณะการตายของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Promyelocytic leukemia (HL60) เมื่อถูกกระตุ้นด้วยหญ้าปักกิ่งที่สกัดด้วยเอทธานอล ความเข้มข้น 400 มคก./มล.ก, เซลล์มะเร็งที่ไม่ถูกกระตุ้นด้วยหญ้าปักกิ่ง ข, เซลล์มะเร็งที่ถูกกระตุ้นด้วยหญ้าปักกิ่ง Lot. ที่ 1. ค, เซลล์มะเร็งที่ถูกกระตุ้นด้วยหญ้าปักกิ่ง Lot, ที่ 2.
วิจารณ์
จากการทดลองจะเห็นว่าสารสกัดหญ้าปักกิ่งทั้งที่ได้จากการสกัดด้วยน้ำและ เอทธานอลร้อย ละ 80 ไม่มีฤทธิ์ยั้บยั้งการแบ่งเซลล์และไม่มีความเป็นพิษกับเซลล์มะเร็งเม็ด เลือดขาวทุกชนิดที่นำมาทดสอบ ถึงแม้หญ้าปักกิ่งที่สกัดด้วยเอทธานอลร้อยละ 80 ที่ความเข้มข้น 400 มคก./มล.สามารถยับยั้งการแบ่งเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Promyelocytic leukemia (HL60) และ T-cell leukemia (Molt 4) ได้ถึงร้อยละ 23.10 และ 18.49 ตามลำดับ และกระตุ้นให้ Promyelocytic leukemia (HL60) เกิดการตายแบบ necrosis ได้สูงสุดถึง ร้อยละ 39.95 ผลที่ได้ยังถือว่าเป็นค่าที่ต่ำ นอกจากนี้แม้จะเพิ่มความเข้มข้นของสารสกัดเป็น 500 มคก./มล. ยังไม่มีผลทำให้จำนวนเซลล์มะเร็งลดลงหรือมีจำนวนเซลล์มะเร็งตายเพิ่มขึ้น การทดลองครั้งนี้ให้ผลสอดคล้องกับผลการวิจัยของสถาบันมะเร็ง โดยพบว่าน้ำคั้นสดของหญ้าปักกิ่งไม่มีฤทธิ์ในการทำลายเซลล์มะเร็ง และเนื่องจากไม่พบฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งโดยตรงของสารสกัดหญ้าปักกิ่ง ดังนั้นจึงได้ตั้งสมมุติฐานว่าการที่หญ้าปักกิ่งสามารถทำลายเซลล์มะเร็งใน ผู้ป่วยหรือในสัตว์ทดลองได้นั้นอาจเนื่องมาจากหญ้าปักกิ่งมีฤทธิ์ในการ กระตุ้นระบบภูมิต้านทานของร่างกาย (immunomo-dula-tor) ทั้งทาง cell mediated immunity (CMI) และ humoral mediated immunity (HMI) ให้มีการทำลายเซลล์มะเร็งได้มากยิ่งขึ้น(7) จากการศึกษาของ Jiratchariyakul พบว่าสาร glyco-sphingo-lipid คือ 1-b-O-D-glucopyranosyl-2-(2ข-hydroxy-6ข-ene-cosamide)-sphingosine ซึ่งได้จากการนำผงสมุนไพรหญ้าปักกิ่งมาสกัดด้วยเอทธานอล แล้วแยกส่วนด้วย Diaion HP20 คอลัมน์ มีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งเต้านม (BT474) และมะเร็งลำไส้ของคน (SW620) ได้ โดยการใช้ความเข้มข้นของสารสกัดเพียง 16 มคก./มล. จะทำให้เซลล์มะเร็งตายประมาณร้อยละ 50(3) ผลการทดลองที่ไม่สอดคล้องกัน อาจเนื่องมาจากการทดลองในครั้งนี้ใช้ crude extraction ของหญ้าปักกิ่งมาทดสอบ ดังนั้นปริมาณสารที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็งโดยเฉพาะ glyco-sphingo-lipid อาจมีจำนวนน้อยจึงไม่สามารถแสดงฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งเซลล์ และความเป็นพิษต่อเซลล์ให้เห็นได้อย่างชัดเจนแม้ใช้สารสกัดในเข้มข้นสูง (400 มคก./มล.) จากการศึกษาของ Thiele พบว่า glycosphingolipid เป็นไขมันที่มีความเป็นขั้วสูง แตกต่างจากไขมันชนิดอื่นตรงที่สามารถละลายได้ในน้ำและจัดเป็นองค์ประกอบที่ สำคัญของเยื้อหุ้มเซลล์ พบมากที่เซลล์สมอง เซลล์ระบบประสาท และอวัยวะอื่นๆ เช่น เม็ดเลือดแดง ไต ม้าม รก ซีรั่ม และ ตับ โดยปกติ glycosphingolipid จะมีบทบาทในปฏิกิริยาภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ glyco-sphingo-lipid ที่แยกได้จากเซลล์มะเร็งจะมีความแตกต่างจากเซลล์ปกติ แต่อาจมีความคล้ายคลึงกับ glycosphingo- -li-pid ที่สกัดได้จากหญ้าปักกิ่ง ดังนั้นในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยหญ้าปักกิ่งจึงอาจมีภูมิต้าน ทานต่อ glycosphingoli-pid ที่สามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้ (3,8) ปัจจุบันพบว่าผู้ป่วยมะเร็งที่ใช้หญ้าปักกิ่งรักษาตนเองมีจำนวนเพิ่มมาก ขึ้นและส่วนใหญ่มีแนวโน้มว่าการรักษาได้ผลดี(7) อย่างไรก็ตามกลไกการออกฤทธิ์ของสารสกัดหญ้าปักกิ่งต่อการต้านเซลล์มะเร็ง ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน นอกจากนี้ผลกระทบข้างเคียงที่อาจเกิดกับร่างกายภายหลังได้รับหญ้าปักกิ่ง ยังไม่มีการติดตามและศึกษากันอย่างจริงจัง จากการศึกษาถึงความเป็นพิษเฉียบพลันของหญ้าปักกิ่งพบว่าน้ำคั้นจากหญ้า ปักกิ่งไม่ทำให้เกิดความผิดปกติในด้านการเจริญเติบโต เคมี เลือด และพยาธิสภาพของอวัยวะสำคัญในหนูขาว ค่า LD50 ในหนูขาวมากกว่า 120 ก./กก.น้ำหนักหนู ซึ่งคิดเป็น 300 เท่าของขนาดที่ใช้รักษาในคน(9) และการให้หนูขาวกินน้ำคั้นหญ้าปักกิ่งขนาดความเข้มข้น 2.8, 7.0 และ 14 ก./กก.น้ำหนักหนู ซึ่งเทียบเท่ากับปริมาณที่ใช้ในคน เป็นระยะเวลาติดต่อกันนาน 3 เดือน ไม่ทำให้เกิดพิษเรื้อรัง(10) การตรวจไม่พบพิษของหญ้าปักกิ่ง ส่วนใหญ่มักจะเกิดกับหญ้าปักกิ่งที่สกัดด้วยน้ำ สำหรับการสกัดด้วยเอทธานอล ธีระ ชีโวนรินทร์, วิริยา เจริญคุณธรรม และ Vinitketkumnuen พบว่าหญ้าปักกิ่งที่สกัดด้วยเอทธานอลสามารถเหนี่ยวนำให้เกิดเอนไซม์ที่ย่อย สลาย และลดการเกิดอนุมูลอิสระ แต่ขณะเดียวกันอาจเหนี่ยวนำให้เกิดเอนไซม์อื่นๆ ที่เร่งการก่อกลายพันธุ์ได้(6,11,12) นอกจากนี้ Punturee พบสารสกัดหญ้าปักกิ่งที่ได้จากการสกัดด้วยเอทธานอลที่ความเข้มข้น 100-200 มคก./มล.สามารถแสดงความเป็นพิษต่อ PBMC ของคนปกติทั้งในสภาวะที่ถูกและไม่ถูกกระตุ้นด้วย mitogen (Phyto-hemagglu-tinin และ Pokeweed mitogen)(13) จะเห็นว่าข้อมูลการศึกษาที่เกี่ยวกับหญ้าปักกิ่งยังไม่มีความชัดเจน ทั้งนี้เพราะฤทธิ์ในการต้านเซลล์มะเร็งของหญ้าปักกิ่งอาจขึ้นกับปัจจัยหลาย ชนิด ได้แก่ กรรมวิธีในการสกัดสาร อายุของหญ้าปักกิ่ง สถานที่เพาะปลูก และฤดูกาล เป็นต้น ดังนั้นก่อนที่จะนำสารสกัดหญ้าปักกิ่งหรือสมุนไพรอื่นมาใช้รักษาโรคจะต้อง มีการศึกษาวิจัยอย่างจริงจังเพื่อให้มีข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน ตลอดจนพัฒนารูปแบบการใช้ให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น
กิตติกรรมประกาศ
ขอขอบคุณ รองศาสตราจารย์ ดร. วัชระ กสิณฤกษ์ ภาควิชาภูมิคุ้มกันวิทยา คณะเทคนิคการแพทย์ และ แพทย์หญิง ดร. รัตนา บรรเจิดพงศ์ชัย ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ให้ความอนุเคราะห์ Leukemic cell lines ขอขอบคุณสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ให้ความอนุเคราะห์เครื่อง cell harvester และเครื่อง b-counter
เอกสารอ้างอิง
1. นันทวัน บุณยะประภัศร, อรนุช โชคชัยเจริญพร. (บรรณาธิการ). สมุนไพร. ไม้พื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2543.
2. วีณา จิรัจฉริยากูล. สารต้านมะเร็งจากหญ้าปักกิ่ง. จุลสารข้อมูลสมุนไพร 2542;16:10-3.
3. Jiratchariyakul W, Okabe H, Moongkrandi P, Frahm AW. Cytotoxic glycosphinglipid from Murdannia loriformis (Hassk) Rolla Rao et Kammathy. Thai J Phytopharm 1998;5:10-20.
4. สาคร พรประเสริฐ. (บรรณาธิการ). มะเร็งเม็ดเลือดขาว. เชียงใหม่: ส. ทรัพย์การพิมพ์, 2542.
5. Levi F, Lucchini F, Negri E, Barbui T, La Vecchai C. Trends in mortality from leukemia in subsequent age groups. Leukemia 2000;14: 1980-5.
6. ธีระ ชีโวนรินทร์, อุษณีย์ วินิจเขตคำนวณ, Wild CP. ผลของสารสกัดจากตะไคร้และหญ้าปักกิ่งต่อระดับอะฟลาทอกซินบีหนึ่ง-อัลบูมิ นแอดดักส์ ในหนูขาวที่ได้รับอะฟลาทอกซินบีหนึ่ง. เชียงใหม่-เวชสาร 2541;37:11-9.
7. สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. หญ้าปักกิ่ง. การสัมมนาสมุนไพรกับมะเร็งครั้งที่ 1; ตึกดำรงนิราดูล. กรุงเทพฯ: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, 2531.
8. Thiele OW. Lipids. Isoprenoide mit steroiden. Stuttgart: Georg Thieme Verlag 1979: 184-8.
9. พิมลวรรณ ทัพยุทธพิจารณ์, วัลลา งามนัฐจินดา, พรรณี พิเดช. การศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันของหญ้าปักกิ่งในหนูขาว. สารศิริราช 2533;43: 458-63.
10. พิมลวรรณ ทัพยุทธพิจารณ์, เพียงจิต สัตตบุศย์, พรรณี พิเดช. พิษเรื้อรังของหญ้าปักกิ่งในหนูขาว. สารศิริราช 2534;43:529-33.
11. วิริยา เจริญคุณธรรม, ปรัชญา คงทวีเลิศ, อุษณีย์ วินิจเขตคำนวณ. การเหนี่ยวนำเอนไซม์ดีทีไดอะฟอเรส โดยสารสกัดจากหญ้าปักกิ่ง ใบมะกรูด และตะไคร้. เชียงใหม่เวชสาร 2537;33:71-7.
12. Vinitketkumnuen U, Charoenkunathum W, Kongtawelert P, Lertprasertsuke N, Picha P, Matsushima T. Antimutagenicity and DT-diaphorase inducer activity of Thai medicinal plant, Murdannia loriformis. J Herbs Spices Med Plants 1996;4:45-52.
13. Punturee K, Kasinrerk W, Wild CP, Vinitketkumnuen U. Immunomodulatory effect of Thai medicinal plants on the mitogen stimulated proliferation of human peripheral blood mononuclear cells in vitro. Proceedings of Takeo Wada cancer research symposium. 2000 Nov 30-Dec 1; Chiang Mai: Chaing Mai University, 2000. p.62-4.
ANTI-PROLIFERATIVE AND CYTOTOXIC EFFECTS OF
MURDANNIA LORIFORMIS ON LEUKEMIC CELL LINES
Sakorn Pornprasert, M.Sc.,1 Khanittha Punturee, B.Sc.,2 Usanee Vinitketkumneun, Ph.D.,2
1Department of Clinical Microscopy, Faculty of Associated Medical Science,
2Department of Biochemistry, Faculty of Medicine, Chiang Mai University,
Chiang Mai, Thailand
แหล่งข้อมูล : http://www.medicine.cmu.ac.th/secret/edserv/journal/40(4)/sakorn.htm
ตอบคุณน้ำส้ม
ต้นหญ้าปักกิ่ง ซื้อได้จากร้านขายต้นไม้ทั่วไป ลองถามคนขายดูนะ แล้วรองหารูปแล้วเปรียบเทียบดูค่ะ ราคาไม่แพง เพิ่งไปซื้้อมากอใหญ่เหมือนกัน ประมาณ 50 บาท เอามาปลูกเอง เพราะแม่เขาอยากได้มาปลูกไว้กินค่ะ
ขอสอบถามนะคะ คือแม่ของดิฉันเป็นมะเร็งปอด ระยะที่2 คุณหมอนัดผ่าตัดก้อนที่ปอดประมาณ29 กย 54 นี้ค่ะ ดิฉันอยากให้แม่ลองทานหญ้าปักกิ่งดูนะคะ เพราะอ่านสรพพคุณแล้วดี รู้มาว่าต้องกินน้ำแบบสดถึงจะดีใช่ไหมคะ แล้วหาซื้อได้ที่ไหนบ้างคะ(แม่อยู่นครสวรรค์)จะสั่งซื้อจากที่นี่ได้ไหมคะ มีขายแบบเมล็ดบ้างไหมคะ หรือขายเป็นต้นนะคะ และถ้ากินพร้อมกับเห็ดหลินจือได้ไหมคะ พอดีว่าแม่เริ่มกินเห็ดหลินจือแบบแคบซูลอยู่นะค รบกวนช่วนตอบหน่อยนะคะ เพราะดิฉันสนใจจริง
ขอบพระคุณอย่างสูง
ถ้ามะเร็งเนี่ย อยากแนะนำให้ทานแบบสดจะดีที่สุดเลยนะคะ .. แต่ถ้าไม่สะดวกจริงๆ ทานแคปซูลดีกว่าค่ะ
ถ้าไม่สะดวกที่จะนำไบสดมาคั้นเอง จะซื้อแบบขวดสำเร็จ คุณสมบัติ เปลี่ยนไปมั๊ยครับ
เรียนคุณ Kenji เก็บไว้ในตู้เย็นได้ไม่เกิน 7 วันนะคะ
แต่รับประทาน 3 วันก็หมดค่ะ
หญ้าปักกิ่งแบบน้ำเก็บได้กี่วันครับ
ลองดูนะคะ .. อยากให้ มีความเชื่อมั่นและตั้งใจค่ะ ..
แฟนผมเป็นซิสในตับคับผมไม่อยากให้แฟนผม รักษาแบบผ่า คีโม เลยสนใจหญ้าปักกิ่งพอจะช่วยได้ใหมครับ หรือโทร 0837779961 รบกวนด้วยนะครับ